Scroll to top

 

สถานที่ท่องเที่ยว

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

ตำบลโหล่งขอด
ประเภทวัดและศาสนสถาน
19 มิถุนายน 2565
1,448 คน

 

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล
ที่ตั้ง : 467 หมู่ 6 บ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ช่องทางการติดต่อ : 087-182-4044 ( ท่านพระวรวรรณ วิวัฒน์ ตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลโหล่งขอดและเจ้าอาวาสวัด )

ประวัติความเป็นมาของวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลอธิบายเรื่องราว : วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล เป็นพระมหาธาตุเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอพร้าวอายุการสร้างประมาณ 730 ปี เป็นสถานที่ตั้งทัพโบราณของพญามังรายกษัตริย์ล้านนาในอดีต โดยยังปรากฏแนวคูเมืองเก่าให้เห็นอยู่โดยรอบ วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลตั้งอยู่บนที่สูง ดังนั้นจึงเห็นภูมิประเทศของตำบลโหล่งขอดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม แห่งที่ 16 ของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งรองรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ถึง 200-300 คน วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลมีประวัติที่เก่าแก่ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวอำเภอพร้าว ซึ่งมีประวัติกล่าวโดยย่อ ดังนี้

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล
วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

   ยุคที่ 1 อ้างในตำนานพระเจ้าเลียบโลก เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิเขตล้านนาไทย พระพุทธองค์ทรงเสด็จมายังม่อนดอยเวียง (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล) พร้อมพระอานนท์เถระ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวจึงได้พากันมาทำบุญใส่บาตรฟังธรรมอุปัฏฐากดูแลพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ทุกวัน ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จเดินทางออกจากเขตแดนเมืองพร้าว พระพุทธเจ้าทรงมอบเส้นพระเกศาให้กับชาวบ้านไว้กราบไหว้สักการระบูชาพร้อมกับได้พุทธทำนายไว้ว่า ต่อไปสถานที่แห่งนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นที่ตั้งมั่นแห่งพุทธศาสนาในอนาคตกาลข้างหน้า จากนั้นชาวบ้านจึงสร้างพระธาตุเจดีย์บรรจุเพื่อรักษาพระเกศาของพระพุทธเจ้าไว้ ณ ที่แห่งนี้สืบมา


วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล
วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

   ยุคที่ 2 สมัยราชวงศ์มังรายมหาราช พญามังรายได้สร้างเมืองพร้าวขึ้นในปี พ.ศ. 1824 จากนั้นได้เดินทางมุ่งสู่หริภุญชัยนคร ระหว่างทางได้พักทัพบริเวณพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ทรงสร้างพระธาตุขนาดใหญ่ครอบพระธาตุให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมและสร้างแนวคูค่าย และขุดแนวกำแพงรอบวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลไว้ถึงห้าชั้น เพื่อเป็นที่ตั้งทัพและพักทัพเมื่อเข้าสู่เมืองพร้าวหรืออำเภอพร้าวในปัจจุบัน
   ยุคที่ 3 เมื่อครั้งพระยาปราบสงคราม (พญาผาบ) แม่ทัพผู้ปกครองแขวงหนองจ๊อมที่ทนต่อการเก็บภาษีส่วนกลางที่กดดันชาวบ้านอย่างหนักไม่ได้ จึงรวมกลุ่มสร้างวีรกรรมุ่งสังหารเจ้านายภาษีและผู้บริหารจาก ส่วนกลางหวังเพื่อปลดแอกให้แก่ประชาราษฎรผู้ยากไร้ในปี พ.ศ. 2432 แต่ไม่สำเร็จจึงหนีมาตั้งทัพบนพระธาตุ ดอยเวียงชัยมงคล ก่อนที่จะเดินทางไปยังเมืองเชียงตุง ซึ่งปัจจุบันได้ขุดพบเงินตราสมัยรัชกาลที่ 5 จำนวนหนึ่ง และจากคำบอกเล่าของคนในชุมชน


ยุคที่ 4 เมื่อครั้งครูบาศรีวิชัยเดินทางมาที่ตำบลโหล่งขอด เมื่อปี พ.ศ. 2474 พร้อมด้วยผู้ติดตามหลายร้อยคน ใกล้พลบค่ำครูบาได้ชี้นิ้วมายังวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลได้กล่าวคำพูดปริศนาไว้ว่า ในตำบลโหล่งขอดยังมีพระธาตุสำคัญและศักดิ์สิทธิ์อีกคือพระธาตุดอยเวียง เวียงเก่าที่มีคูเวียงล้อมลอบ เมื่อใดก็ตามที่พระธาตุนั้นได้รับการบูรณะเสร็จสมบูรณ์ ชาวโหล่งขอดจะทำนาเป็นข้าวสาร ผู้ร่วมสร้างจะร่ำรวยด้วยโภคะทรัพย์ อยู่เย็นเป็นสุขยุคที่ 5 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2546 และเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์สร้างวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลขึ้นมาใหม่อีกครั้ง นำโดยพระอาจารย์นพบุรี มหาวณฺโณ (พระครูวรวรรณวิวัฒน์ ดร.) และชาวบ้าน ได้สร้างถาวรวัตถุที่สำคัญ ต่าง ๆ ให้ใกล้เคียงตามแบบศิลปะล้านนาเดิมมากที่สุดที่ควรค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาสืบไป โดยปัจจุบันมีถาวรวัตถุที่สำคัญอยู่มากมาย โดยจะยกตัวอย่าง ดังนี้ 


1. พระมาหาธาตุเจดีย์บารมี 19 ยอด พระเจดีย์หุ้มทองจังโก้แห่งแรกในอำเภอพร้าว 
2. วิหารล้านหาภายในประดิษฐ์สถานพระมาหาจักรพรรดิดับภัยชัยมงคล (หลวงพ่อเศรษฐี) พระพุทธรูปทรงเครื่อง ล้านนาทำด้วยทองสำริด 
3. พระนอนมหาจักรพรรดิ พระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่ที่สุดในอำเภอพร้าว 
4. พระเจ้าทันใจห้าพระองค์ ประดิษฐานบนเจดีย์ก้อนอิฐโบราณสมัยก่อนบูรณะพระธาตุดอยเวียงชัย-มงคล 
5. พระอุโบสถล้านนา ภายในประดิษฐ์สถานพระพุทธรูปหยก 5 สี 
6. รูปปั้นจำลองพญามังราย (ลานชมวิว) อ้างอิง บทสัมภาษณ์ พระครูวรวรรณวิวัฒน์ (ดร.) เจ้าคณะตำบลโหล่งขอด เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุ
- ดอยเวียงชัย มงคล ฤดูการท่องเที่ยว วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล เปิดให้นักท่องเที่ยว เที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 18.00 น. มีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุในเดือนมิถุนายนของทุกปี และยังทำกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เช่น ใส่บาตร เวียนเทียน เป็นต้นสิ่งอำนวยความสะดวก
- ร้านจำหน่าย สินค้า โอท็อป ของ ตำบลโหล่งขอด
- ร้านกาแฟพระทำ (คนดื่มได้บุญ ชุมชนมีงานทำ) - ร้านขายกาแฟคั่ว ออแกนิก ชาอัสสัม 100 ปี ของชมรมพร้าวรักป่า - สถานที่จอดรถกว้างขวาง 
- ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวอําเภอพร้าว และ ศูนย์การเรียนรู้โหล่งขอดโมเดล 
- ห้องน้ำแยก ชาย หญิง และ คนพิการ


แผนที่การเดินทาง

สถานที่ท่องเที่ยวล่าสุด