Scroll to top

 

สถานที่ท่องเที่ยว

กู่เวียงยิง

ตำบลบ้านโป่ง
ประเภทวัดและศาสนสถาน
4 มิถุนายน 2565
780 คน

 

กู่เวียงยิง

กู่เวียงยิง
ที่ตั้ง : บ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

อธิบายเรื่องราว : กู่เวียงยิง ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอพร้าว เนื่องจากมีประวัติความเป็นมายาวนาน ซึ่งตามหลักฐานที่พบกล่าวถึงประวัติของกู่เวียงยิงไว้ว่าสร้างขึ้นสมัยของพระยามังราย ซึ่งในขณะนั้นพระยามังรายมีโอรสอยู่สามพระองค์จึงให้ราชโอรสองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า “เจ้าขุนเครื่อง” ซึ่งมีพระชนมายุ 13 ชันษา ให้ไปครองเมืองเชียงราย ส่วนพระยามังรายครองราชสมบัติ ณ เมืองฝาง ทางฝ่าย        “ขุนเครื่อง” ราชโอรสเสด็จ ไปครองเมืองเชียงรายอยู่ไม่นานนัก อำมาตย์ผู้หนึ่งมีชื่อว่า “ขุนใสเวียง” ได้         กราบทูลยุยงให้คิดกบฏต่อพระราชบิดา โดยจะชิงเอาราชสมบัติเมืองเชียงรายเสีย และให้จัดกำลังขนาดใหญ่ (พลแข็งเมือง)  ฝ่ายพระยามังรายทรงทราบจึงปรารภว่า "ขุนเครื่องผู้มีบุญน้อย จะมาคิดแย่งราชสมบัติกู เป็นพ่อเช่นนี้จักละไว้มิได้" จึงมอบให้ “ขุนอ่อง” ซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัย ผู้หนึ่งไปเชิญให้ขุนเครื่องผู้เป็นโอรสให้มาเข้าเฝ้าที่เมืองฝาง ในขณะที่ราชโอรสกำลังเดินทางจากเมืองเชียงรายจะมาเข้าเฝ้าพระราชบิดาตามคำบอกเล่าของ ขุนอ่อง” ท่านพระยามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่นธนูดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ และได้เสียชีวิตระหว่างทาง ณ ที่แห่งหนึ่งใน เขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพระยามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพราชโอรส ทรงสถาปนา ณ ที่ ขุนเครื่องถูกพิฆาตนั้นเป็นอาราม เรียกว่า "วัดเวียงยิง" มีซากเจดีย์ร้างแห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเวียงยิง หรือวัดกู่เวียงยิง (วัดสันป่าเหียง) ดังปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ของอรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค.วัยอาจ (5 กุมภาพันธ์ 2562) 

กู่เวียงยิง
กู่เวียงยิง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ประชาชนบ้านทุ่งน้อยจึงได้ทำการอพยพย้ายที่อยู่อาศัย และวัดทุ่งน้อยจากเดิมที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้น้ำแม่งัดย้ายมาตั้งอยู่บริเวณสันป่าเหียง เดิมทีทำการสร้างวัดทุ่งน้อย พ.ศ. 2492 บริเวณพระธาตุคกู่เวียงยิง โดยไม่ได้มีวัสดุอย่างถาวรเป็นเวลา 2 ปี
     
และด้วยลักษณะที่ตั้งอยู่บนเนินเขาซึ่งไม่เหมาะแก่การสร้างวัด ระหว่างที่ก่อสร้างวัดนั้นมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นมากมาย เช่น ได้เกิดฟ้าผ่าบนยอดฉัตรพระธาตุ จนเป็นเหตุให้ยอดฉัตรเจดีย์พระธาตุพังทลายลง จนชาวบ้านต่างเรียกขานว่า “ธาตุกุด” และ    ปี พ.ศ. 2594 ได้เกิดปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำเพราะลักษณะที่ตั้งวัดอยู่บนเนินเขา ชาวบ้านและเจ้าอาวาสจึง ได้ย้ายวัดลงมา หรือวัดทุ่งน้อยในปัจจุบัน นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุกู่เวียงยิงจึงถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ถูกปกคลุมด้วยวัชพืชไม่ได้รับการดูแลหรือพัฒนา ทำให้ซากพระธาตุกู่เวียงยิงเสื่อมโทรมลงตามอายุของการสร้าง


กู่เวียงยิง
กู่เวียงยิง

      ในปี พ.ศ. 2559 นำโดยเจ้าอาวาสวัดบ้านทุ่งน้อย และชาวบ้าน ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ได้ทำการ กิจกรรม “เข้ากรรม” หรือ “เข้ากรรมรุกขมูล”เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการ     จัดกิจกรรมร่วมกันในวันสำคัญทางศาสนาและเรียนรู้ต่อไป ฤดูกาลท่องเที่ยว สามารถเข้าเยี่ยมชมพระธาตุกู่เวียงยิง ได้ทุกวันไม่มีวันหยุดราชการ โดยรถยนต์ส่วนตัว ระยะทาง 5 กิโลเมตร จากที่ว่าการอำเภอพร้าว ใช้เวลาเดินทาง 15 นาทีสิ่งอำนวยความสะดวก- มีที่สำหรับจดรถกว้างขวาง - มีร้านอาหารในชุมชน 2 ร้าน - ร้านขายของชำ


แผนที่การเดินทาง

https://www.google.com/maps/dir//19.2947987,99.1743373/@19.2947987,99.1721486,17z

สถานที่ท่องเที่ยวล่าสุด